วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

คู่มือการติดตั้ง Windows XP แบบ Original



คู่มือการติดตั้ง Windows XP แบบ Original



1.การตั้งค่า Bios ให้บูทจาก Cd&Dvd


1. จะโผล่หน้าจอสีดำดำ ให้เรา กด Del หรือ F2 รัวๆ ปรามาณนี้ อันนี้แล้วแต่เครื่องอีกครับ ว่ามันจะให้กดอะไร ลองอ่านดูครับ มันจะมีคำปรามาณว่า Setup Bios ปรามาณนี้
2. หลังจากที่เข้า Bios แล้วให้เปลี่ยนลำดับการบูต เรามาดูซัก 2 ตัวอย่าง Bios ที่พบกันบ่อยๆ


ตัวอย่างแรก จะพบใน Bios เก่าๆให้เลือกหาแท็บ Advance Bios ส่วนใหญ่จะอยู่อันที่ 2 หรือ อันที่ 3 แล้วแต่เครื่อง เลือกแล้วกด Enter เพื่อเข้าเลยครับ







จากนั้น ให้หาช่อง First Boot แล้วเปลี่ยนให้เป็น CD-ROM

จากนั้นกด F10 กด Y แล้ว Enter

จากนั้น หา กด +,- หรือ F5 , F6 เพื่อเลื่อนขึ้นเลื่อนลงแล้วแต่รุ่น ให้เลื่อน Cd or Dvd rom มาบนสุด



แล้วกด F10 เพื่อทำการ save

3. ใส่แผ่น Cd&Dvd ที่เราต้องการจะให้บูทเข้าไปครับ4. จากนั้นคอมคุณก็จะทำการ รีสตาทตัวเอง แล้วก็จะเริ่มการบูทจากแผ่น



2.แบ่งพาร์ติชั่นฮาร์ดดิสก์
ชนิดของพาร์ติชั่น จะแบ่งออกตามชนิดของ FAT ต่าง ๆ ได้ดังนี้
FAT16 เป็นการจัดพาร์ติชันสำหรับ DOS, Windows 3.1 และ Windows 95 รุ่นแรก ๆ จะรองรับขนาดของพาร์ติชันได้สูงสุดที่ 2 GB ต่อ 1 พาร์ติชั่นเท่านั้น
FAT32 เป็นการจัดพาร์ติชันสำหรับ Windows 97 OSR2 และ Windows 98 สามารถรองรับขนาดของพาร์ติชันได้จาก 512 KB ไปจนถึง 64 GB ต่อ 1 พาร์ติชัน
NTFS เป็นการจัดพาร์ติชันสำหรับ Windows NT



ดังนั้น หากจะทำการจัดแบ่งพาร์ติชัน ให้ใช้งานฮาร์ดดิสก์ที่ขนาดมากกว่า 2 GB ต่อ 1 พาร์ติชันก็ต้องทำการสร้างพาร์ติชันแบบ FAT32 ซึ่งจะสามารถใช้งานได้ในระบบ Windows 95 OSR2 หรือ Windows 98 ขึ้นไปเท่านั้น ซอฟต์แวร์ ที่ใช้สำหรับการจัดแบ่ง พาร์ติชันของ ฮาร์ดดิสก์ แบบง่าย ๆ ก็คือโปรแกรม FDISK ที่มีมาให้กับ Windows 98 นั่นเอง โดยที่ต้องอย่าลืมว่า การใช้ FDISK จาก Windows 98 จะสามารถสร้างพาร์ติชันแบบ FAT32 ได้ แต่ถ้าหากเป็น FDISK ที่มากับ Windows 95 หรือของ DOS จะสามารถทำได้เฉพาะระบบ FAT16 เท่านั้นไม่สามารถทำเป็น FAT32 ได้
โดยปกติแล้ว ขั้นตอนการจัดแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ ไม่จำเป็นต้องทำบ่อยนัก จะทำในกรณีที่ต้องการ เปลี่ยนแปลงรูปแบบ ชนิดของ FAT หรือกำหนดขนาดของพาร์ติชันใหม่เท่านั้น ซึ่งขั้นตอนการจัดพาร์ติชันใหม่นี้ ข้อมูลทุกอย่างที่เก็บอยู่ใน ฮาร์ดดิสก์ จะหายไปทั้งหมดด้วย ดังนั้นต้องระวังหรือทำการเก็บสำรองข้อมูลที่สำคัญเก็บไว้ก่อน ในที่นี้จะยกตัวอย่างของการจัดการ และการแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ โดยการใช้คำสั่ง FDISK ที่มีมากับ Windows เพื่อเป็นการเตรียมฮาร์ดดิสก์ก่อนขั้นตอนการลง Windows ต่อไป
หลักของการแบ่งพาร์ติชั่นด้วย FDISK
ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจเรื่องของคำที่จะใช้ และหลักการแบ่งพาร์ติชั่นด้วย FDISK กันก่อนครับ โดยที่มีหลักการแบ่ง เรียงตามลำดับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจแบบง่าย ๆ และรวดเร็วดังนี้
1. ขั้นแรก ต้องสร้างพาร์ติชั่นที่เป็น Primary DOS Partition ก่อน โดยถ้าหากจะแบ่งเป็นไดร์ฟเดียว ก็เลือกตรงนี้ให้มีขนาดเป็น 100% ได้เลย แต่ถ้าหากต้องการแบ่งให้เป็นหลาย ๆ ไดร์ฟ ก็กำหนดขนาดไปตามต้องการ2. ต่อไป ต้องสร้าง Extended DOS Partition โดยกำหนดขนาดให้เท่ากับพื้นที่ ที่เหลือจากข้อ 1. ครับ ตรงนี้จะยังไม่ใช่ไดร์ฟหรือพาร์ติชั่นตัวที่สอง แต่จะเป็นการกำหนดพื้นที่สำหรับ พาร์ติชั่นตัวที่สองหรือตัวถัดไปเท่านั้น3. ทำการสร้าง Logical DOS Drive(s) ขึ้นมาอีกครั้ง (ซึ่งจะใช้พื้นที่ของ Extend DOS Partition ที่ได้สร้างไว้แล้ว) โดยที่ตรงนี้ จะกำหนดขนาดของพาร์ติชั่นที่ต้องการสำหรับไดร์ฟถัดไป เช่นอาจจะกำหนด ให้ใช้พื้นที่ ที่เหลืออยู่ทั้งหมด เป็นอีกไดร์ฟหนึ่ง ก็เลือกขนาดเป็น 100% แต่ถ้าหากต้องการแบ่งย่อยขนาดลงไป ก็ต้องสร้าง Logical DOS Drive(s) ให้มีขนาดย่อย ๆ ตามต้องการ
ยกตัวอย่างละกัน สมมติว่าฮาร์ดดิสก์ขนาด 20G. ต้องการแบ่งเป็น 3 พาร์ติชั่น โดยมีขนาดเป็น 5+5+10 จากข้อ 1. ก็ต้องสร้าง Primary DOS Partition ขึ้นมาขนาด 5G. ก่อน แล้วค่อยสร้าง Extended DOS Partition ขนาด 15G. ที่เหลือ จากนั้นค่อยทำการสร้างเป็น Logical DOS Drive(s) โดยกำหนดให้มีขนาด 5G. และ 10G. ตามลำดับครับ
คำสั่ง FDISK จะสามารถหาได้จากแผ่น Windows 98 Start Up Disk ถ้าหากยังไม่มี ต้องทำการสร้างแผ่น Windows 98 Startup Disk ขึ้นมาก่อน หลังจากนั้น จึงทำการบูทเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการบูทเครื่องจากแผ่น Windows 98 Startup Disk จากนั้น พิมพ์คำสั่ง fdisk แล้วกด Enter




ถ้าฮาร์ดดิสก์มีขนาดใหญ่มากกว่า 512MB จะมีคำถามว่าต้องการสร้างพาร์ติชันขนาดใหญ่หรือไม่ หรือเป็นการถามว่า ต้องการใช้งานแบบ FAT32 หรือไม่นั่นเอง หากตอบ [N] ก็จะเป็นการกำหนดให้ใช้งานแบบ FAT16 หรือเหมือนกับการใช้ FDISK ของ DOS หรือ Windows 95 รุ่นเก่าไป แต่ถ้าต้องการแบ่งพาร์ติชันแบบ FAT32 ก็ให้กด [Y]



เมนูหลักสำหรับการใช้งานแบบต่าง ๆ โดยปกติแล้วจะมีแค่ 4 รายการ แต่ถ้าหากมีการต่อฮาร์ดดิสก์มากกว่า 1 ตัว จะมีเมนูที่ 5 คือ Change current fixed disk drive สำหรับเลือกว่าจะทำงานกับ ฮาร์ดดิสก์ ตัวไหนให้เลือกด้วย การแสดงข้อมูลของ พาร์ติชัน ต่าง ๆ ทำโดยเลือกที่เมนู 4. Display partition information


เมนูของการแสดงพาร์ติชัน (เลือกจากเมนู 4. จากเมนูหลัก) จะแสดงข้อมูลต่าง ๆ ของพาร์ติชัน ในฮาร์ดดิสก์ จะเห็นรายละเอียดและการกำหนดรูปแบบการใช้งานต่าง ๆ รวมถึงการจัดแบ่งขนาดต่าง ๆ ด้วย ในกรณีที่เป็น ฮาร์ดดิสก์ ที่ยังไม่ได้ทำการจัดพาร์ติชัน ก็จะไม่มีข้อมูลแสดงให้เห็น เราสามารถกดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปเมนูหลัก




เมนูของการลบพาร์ติชัน (เลือกเมนู 2. จากเมนูหลัก) จะมีเมนูให้เลือกรายการลบพาร์ติชันต่าง ๆ ซึ่งขออธิบายความหมายของแต่ละพาร์ติชัน ดังนี้
Primary DOS Partition เป็นพาร์ติชันหลักของฮาร์ดดิสก์
Extended DOS Partition เป็นพาร์ติชันถัดไปของฮาร์ดดิวก์
Logical DOS Drive(s) จะเป็นการกำหนดขนาดต่าง ๆ ที่อยู่ใน Extended DOS Partition อีกที ซึ่งสามารถกำหนดการสร้างได้หลาย ๆ Drive ตามต้องการ
Non-DOS Partition เป็นพาร์ติขันในระบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ระบบของ DOS
ในการลบพาร์ติชัน จะต้องทำการลบโดยเรียงลำดับข้อมูลด้วย เช่นต้องลบ Logical DOS Drive ออกให้หมดก่อนจึงจะลบ Extended DOS Partition ได้ และหลังจากนั้น จึงทำการลบ Primary DOS Partition ตามลำดับต่อไป



หากทำการลบพาร์ติชันต่าง ๆ ข้อมูลทุกอย่างที่เก็บอยู่ในพาร์ติชันนั้น ๆ จะหายไปหมด ดังนั้นเมื่อจะทำการลบพาร์ติชัน จะมีการถามยืนยันการลบ โดยให้ใส่ Volume Label ของฮาร์ดดิสก์นั้นก่อนด้วย เพื่อเป็นการป้องกันการลบข้อมูล โดยไม่ได้ตั้งใจหรือลบผิดพาร์ติชัน ดังนั้น หากจะทำขั้นตอนนี้ ต้องใช้ความระมัดระวังและอ่านรายละเอียดต่าง ๆ ให้รอบคอบก่อน

เมนูของการสร้างพาร์ติชัน (เลือกเมนู 1. จากเมนูหลัก) จะเป็นการสร้างพาร์ติชันแบบต่าง ๆ ซึ่งจะคล้าย ๆ กับเมนูของการลบพาร์ติชัน คือจะมีการสร้าง Primary DOS Partion, Extended DOS Partition และการสร้าง Logical DOS Drive ใน Extended DOS Partition ปกติแล้วก็จะสร้างเรียงตามลำดับตามต้องการ
กรณีที่เลือกสร้าง Primary DOS Partition เป็นอักแรก จะมีเมนูถามว่า ต้องการใช้พื้นที่ทั้งหมดในฮาร์ดดิสก์สำหรับทำเป็น Primary DOS Partition หรือไม่ หากต้องการใช้พื้นที่ทั้งหมดสร้างเป็น Drive เดียวก็เลือก [Y] แต่ถ้าหากต้องการระบุขนาดต่าง ๆ ของพาร์ติชันด้วยตัวเอง ก็เลือกที่ [N] เพื่อกำหนดขนาดเอง
ถ้าหากเลือกที่จะกำหนดขนาดของ Primary DOS Partition เองโดยเลือก [N] จากขั้นตอนที่แล้ว จะมีเมนูให้ใส่ขนาดของ Primary DOS Partition ตามต้องการ โดยอาจจะใส่เป็นตัวเลขจำนวนของ MB หรือใส่เป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์ก็ได้ จากตัวอย่างสมมติว่ากำหนดขนาดเป็น 70% ของจำนวนฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด ก็ใส่ 70% แล้วกด Enter
หลังจากนั้น ก็ทำการสร้าง Extended DOS Partiton จากส่วนของพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ที่เหลือ โดยการเลือกเมนูที่ 2. Create Extended DOS Partition ทำการกำหนดขนาดของพื้นที่ตามที่ต้องการ จากตัวอย่างคือจะใช้พื้นที่ 30% ที่เหลือทั้งหมด โดยการกำหนดขนาดนี้อาจจะใส่เป็ยตัวเลขจำนวน หรือใส่เป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์ ก็ได้แล้วกด Enter

หลังจากที่สร้าง Extended DOS Partition แล้วจะมีการแสดงรายละเอียดของการแบ่งพาร์ติชันต่าง ๆ


ในส่วนของ Logical Drive จะเป็นการสร้างขึ้นภายในของ Extended DOS Partition อีกที ซึ่งการกำหนดขนาดของพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ ก็กำหนดขนาดตามต้องการ หรือถ้าต้องการแบ่งในส่วนของ Extended DOS Partition ออกเป็นหลาย ๆ Drive ก็สามารถทำการกำหนดแบ่งได้จากส่วนของ Logical Drive นี้

หลังจากที่ทำการสร้างและจัดแบ่งพาร์ติชันต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว เมื่อกลับมาที่เมนูหลัก จะมีคำเตือนว่าไม่มีการกำหนดพาร์ติชันไหน active อยู่เลย ต้องทำการกำหนดพาร์ติชันที่สร้างขึ้นมาให้เป็น active partition ด้วยเพื่อให้สามารถใช้บูทเครื่องได้ การกำหนดทำโดยการเลือกที่เมนู 2. Set active partition
ใส่หมายเลขของ Partition ที่ต้องการให้เป็น active partition และกด Enter
เมื่อเลือกที่เมนู 4. เพื่อดูรายละเอียดต่าง ๆ ก็จะเห็นลักษณะการจัดและแบ่งพาร์ติชันในฮาร์ดดิสก์ รวมถึงพาร์ติชันที่ตั้งให้เป็น active partition ด้วย
หลังจากที่ทำการกำหนดและแบ่ง Partition ต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกจากโปรแกรม FDISK ก็จะมีข้อความเตือนว่า ให้ทำการ Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ก่อน การจัดพาร์ติชันต่าง ๆ จึงจะมีผลและทำการ format ฮาร์ดดิสก์ต่อไป
การจัดแบ่งพาร์ติชันของ ฮาร์ดดิสก์นี้ โดยปกติแล้ว จะไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้งที่ลง Windows ใหม่ ซึ่งจะทำการจัดพาร์ติชัน ก็ต่อเมื่อต้องการจัดแบ่งขนาดของ ฮาร์ดดิสก์ใหม่ หรือต้องการลบข้อมูล ให้สะอาดจริง ๆ เนื่องจากเกิดการติดไวรัส เครื่องคอมพิวเตอร์ เท่านั้น และอย่าลืมว่า การทำ FDISK นี้ข้อมูลทุกอย่างที่มีอยู่ใน ฮาร์ดดิสก์ จะหายไปทั้งหมดด้วย จึงควรจะต้องใช้ความระมัดระวัง ในการทำทุก ๆ ขั้นตอน


3.ติดตั้งวินโดวส์


-เริ่มต้น โดยการเซ็ตให้บูตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเลือกลำดับการบูต ให้เลือก CD-Rom Drive เป็นตัวแรกครับ (ถ้าหากเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร)


ทำการปรับเครื่อง เพื่อให้บูตจาก CD-Rom ก่อน


-จากนั้นก็บูตเครื่องจากแผ่นซีดี Windows XP Setup โดยเมื่อบูตเครื่องมา จะมีข้อความให้กดปุ่มอะไรก็ได้ เพื่อบูตจากซีดีครับ ก็เคาะ Enter ไปทีนึงก่อน


-โปรแกรมจะทำการตรวจสอบและเช็คข้อมูลอยู่พักนึง รอจนขึ้นหน้าจอถัดไป


-เข้ามาสู่หน้า Welcome to Setup กดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป


-หน้าของ Licensing Agreement กดปุ่ม F8 เพื่อทำการติดตั้งต่อไป


-ทำการเลือก Drive ของฮาร์ดดิสก์ที่จะลง Windows XP แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป


-เลือกชนิดของระบบ FAT ที่จะใช้งานกับ Windows XP หากต้องการใช้ระบบ NTFS ก็เลือกที่ข้อบน แต่ถ้าจะใช้เป็น FAT32 หรือของเดิม ก็เลือกข้อสุดท้ายได้เลย (no changes) ถ้าไม่อยากวุ่นวาย แนะนำให้เลือก FAT32 นะครับ แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

-โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้ง รอสักครู่

-หลังจากนั้น โปรแกรมจะทำการ Restart เครื่องใหม่อีกครั้ง หลังจากบูตเครื่องมาคราวนี้ จะเริ่มเห็นหน้าตาของ Windows XP แล้วครับ รอสักครู่

-โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้งต่าง ๆ ก็รอไปเรื่อย ๆ ครับ จะมีเมนูของการให้เลือก Regional and Language ให้กดปุ่ม Next ไปเลยครับ ยังไม่ต้องตั้งค่าอะไรในช่วงนี้

-ใส่ชื่อและบริษัทของผู้ใช้งาน ใส่เป็นอะไรก็ได้ แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป ทำการใส่ Product Key (จะมีในด้านหลังของแผ่นซีดี) แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป หน้าจอให้ใส่ Password ของ Admin ให้ปล่อยว่าง ๆ ไว้แบบนี้แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป เลือก Time Zone ให้เป็นของไทย (GMT+07:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

-จนกระทั่งขั้นตอนต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อย ก็พร้อมแล้วสำหรับการเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP ครับ จากนั้น จะมีการบูตเครื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นการใช้งานจริง ๆ


4.เซตการใช้งานภาษาไทย พร้อม Key setting การสลับภาษาให้ใช้ Grave ได้


1. ไปที่ Control Panel >> Regional and Language Options


2. ไปที่ Tab Languages แล้วดูว่ามีเลือกที่หน้า Install files for complex script and right-to-left languages (include Thai) แล้วหรือยัง ถ้ายังก็จัดการซะ


3. มาที่ Tab Advanced ใน List ข้างล่างลองเลือกดูว่ามีฟอนต์ไทยตัวไหนยังไม่ได้เลือกไว้ก็เลือกซะ กด Apply แล้วลิสข้างบนเลือกไว้ที่ Thai แล้วกด Apply


4. มาที่ Tab Regional Options ใน Drop down list ทั้ง 2 ตังเลือกเป็น Thai ทั้งหมดกด Apply


5. มาที่ Tab Languages แล้วคลิ้กที่ Details.. จะมี Pop-Up ขึ้นมา ดูว่ามี TH Thai ขึ้นมาหรือยัง ถ้าทำครบขั้นตอนที่ผ่านมาแล้วน่าจะมีขึ้นมา ถ้ายังไม่มีลองไล่ดูตามขั้นตอนที่ผ่านมาใหม่นะครับ ถ้ามีแล้วคลิ้กที่ Key Settings.

6. คลิ้กที่ Change key Sequence..


7. เลือกที่ Grave Accent (~) แล้วคลิ้ก OK เป็นอันจบ






ที่มา













อุปกรณ์อินพุต (in put)


อุปกรณ์อินพุต



.............................................................................................................................................






คีย์บอร์ด (keybornd)

คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์ที่เราใช้ในการป้อนข้อมูลต่าง ๆ เข้าไป มันเป็นอุปกรณ์ราคาถูกมีตั้งแต่ราคา200 บาทขึ้นไป คีย์บอร์ดที่มีราคาสูงก็จะมีปุ่มฟังก์ชันการทำงานต่าง ๆ เพิ่มเข้ามาให้มากมาย เช่น ปุ่ม Sleep, ปุ่ม Windows เป็นต้น หรืออาจจะมีการออกแบบให้มีที่วางมือ เพื่อสะดวกในการพิมพ์งาน
คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส เพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่ามีการกดตัวอักษรอะไร แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักขระที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์เป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต (Operator)




เมาส์ (Mose)


เมาส์ ก็เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาถูกคือ มีตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป เมาส์ที่มีราคาสูงก็จะมีคุณภาพและใช้ได้นาน โดยปกติเมาส์จะมีปุ่มใช้งานอยู่ 2 ปุ่ม เมาส์บางรุ่นอาจจะมีถึง 4-5 ปุ่ม ปุ่มที่เพิ่มเข้ามานี้ก็จะเป็นปุ่มที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ หรือในบางรุ่นอาจจะมีล้อกลม ๆ คล้ายกับล้อรถเพิ่มเข้ามาอยู่ระหว่างปุ่มทั้งสอง เราเรียกว่า Scroll Wheel โดยล้อดังกล่าวก็จะเอาไว้ใช้เลื่อนหน้าจอทำให้การทำงานสะดวกขึ้น แทนที่จะต้องเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ สกอร์ลบาร์ เพื่อเลื่อนหน้าจอ
อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลโดยการเลื่อนเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอ เมาส์ที่นิยมใช้มีด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่
-แบบทางกล (Mechanical) ใช้ลูกกลิ้งกลม
-แบบใช้แสง (Optical mouse)
-แบบไร้สาย (Wireless Mouse)




สแกนเนอร์ (Scanner)

เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพ หรือ รูปถ่ายราคาเริ่มต้นที่ 600 บาท สแกนเนอร์สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ
แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-Fed Scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษให้ผ่านหัวสแกนซึ่งอยู่กับที่
แบบแท่นนอน (Flatbed scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร เหมาะสำหรับใช้กับเอกสารทั้งที่เป็นแผ่นเดียวและเอกสารที่เป็นเล่ม
แบบมือถือ (Hand-held Scanner) สแกนเนอร์แบบมือถือได้รวมเอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกัน



ปากกาแสง (Light Pen)

เป็นอุปกรณ์ทำงานคล้ายกับเมาส์ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับงานวาดภาพ
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกชนิดหนึ่งที่มีเซลล์แบบ photoelectric ซึ่งมึความไวต่อแสงทำงานคล้ายกับเมาส์ที่ใช้ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์มีรูปร่างเหมือนปากกาและมีแสงอยู่ตอนปลาย มีสายที่สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยที่ปลายข้างหนึ่งของปากกาจะมีสายเชื่อมที่สามารถต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ การใช้งานทำได้โดยการแตะปากกาแสงไปบนจอภาพตามตำแหน่งที่ต้องการ นิยมใช้กับงานคอมพิวเตอร์ในการออกแบบ (Computer Aided Design หรือ CAD) การวาดภาพสำหรับงานกราฟิก รวมทั้งยังนิยมใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลโดยการเขียนด้วยมือและจิ้มเลือกเมนูรายการที่ต้องการบนหน้าจอ เพื่อส่งผ่านข้อมูลการเลือกนั้นให้กับโปรแกรมที่อยู่ในหน่วยความจำ นอกจากนี้ยังมีการใช้ปากกาแสงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพกพาหรือปาล์มท็อปอย่างแพร่หลายด้วย เช่น PDA ข้อดีของปากกาแสง คือ สามารถจี้ไปบนจอภาพโดยตรงเพื่อบอกตำแหน่งที่ต้องการ



จอสัมผัส (Touch Screen)


ราคาอยู่ที่ประมาณ 1500บาท จอภาพแบบสัมผัสเป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานได้ทั้งการรับและการแสดงผลข้อมูล เป็นจอภาพเครือบด้วยสารพิเศษที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้นิ้วสัมผัสบนจอภาพเพื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบได้ทันที แทนที่จะใช้การพิมพ์ทางแป้นพิมพ์ หรือสั่งงาน ด้วยการคลิกเมาส์เพื่อลดขนาดพื้นที่การใช้งาน
การใช้งานระบบภาพสัมผัส ผู้ใช้จะต้องสัมผัสจอภาพที่อาจเป็นข้อความตัวเลข รูปภาพ หรือสัญลักษณ์บอกตำแหน่ง จากนั้นโปรแกรมจะทำหน้าที่แปลงเป็นสัญญาณเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ จอภาพสัมผัสนี้ไม่นิยมใช้กับงานที่ต้องป้อนข้อมูลจำนวนมากเข้าสู่ระบบ ส่วนใหญ่นิยมใช้กับงานเฉพาะอย่างที่ให้ผู้ใช้เลือกจากรายการที่กำหนดไว้ เช่น ตู้ ATM การให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ตู้เกมตามศูนย์การค้า การตรวจสอบผลการเรียนตามมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งนิยมใช้ในการทำสื่อนำเสนอกิจกรรมต่างๆ ที่เรียกว่า Information Kiosk เป็นต้น



ที่มา